วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ผู้จัดทำ

มหายุคมีโซโซอิก ( Mesozoic Era )

จัดทำโดย

1. นาย ณัฐวุฒิ จิตกวินทิพย์ ม.6/9 เลขที่ 1     
2. นาย อนวัช ทวีทรัพย์วัฒนา ม.6/9 เลขที่ 10
3. นางสาว ณิชกมล รุ่งภูวภัทร ม.6/9 เลขที่ 16
4. นาย นฤทธิ์ หอมนาน ม.6/9 เลขที่ 19          


เสนอ

อ. วราลี  สินธุวา

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา
โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต ภาคเรียนที่ 1/2558

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ยุคมีโซโซอิก คืออะไร???

มหายุคมีโซโซอิก ( The Mesozoic Era )



         มหายุคมีโซโซอิก ( The Mesozoic Era ) เป็นมหายุคที่สองจาก 3 มหายุคทางธรณีกาลของโลกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิกอยู่ถัดจากมหายุคพาลีโอโซอิกและอยู่ก่อนหน้ามหายุคซีโนโซอิกมีช่วงอายุตั้งแต่ 251-65 ล้านปีมาแล้ว
    
        เกิดการแยกตัวขึ้นอีกภายในผืนแผ่นดินทั้งสองทำให้เกิดทวีปต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มหายุคมีโซโซอิกเป็นมหายุคที่เรียกได้ว่า" สัตว์เลื้อยคลานครองโลก " 






  มหายุคมีโซโซอิกแบ่งย่อยออกเป็น 3 ยุค ดังนี้

 
1.ยุคไทรแอสซิก ( The Triassic Period )

2.ยุคจูแรสซิก  (The Jurassic Period) 

3.ยุคครีเทเชียส ( The Cretaceous Period )

Cr: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%81


1. ยุคไทรแอสซิก( The Triassic Period )

ยุคไทรแอสซิก( The Triassic Period ) 


         เป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก


( สภาพแวดล้อมในยุคไทรแอสซิก )
  
   ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็ว









     หลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่างยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์


( ภาพของ เทอโรซอร์ )
( ออกหาอาหาร )

Credit : http://writer.dek-d.com/kanawritten/story/viewlongc.php?id=788393&chapter=6#














2.ยุคจูแรสซิก ( The Jurassic Period )

ยุคจูแรสซิก ( The Jurassic Period ) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหินแต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง10 ล้านปี


 ( รูปภาพ อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต )
ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร์ค


ยุคจูแรสสิก 200-146ล้านปีก่อน เป็นยุคที่ต่อจากยุคไทรแอสสิก ซึ่งเป็นช่วงยุคกลางของไดโนเสาร์เกิดการแยกตัวของพื้นทวีปพังเกียเป็น2ทวีป คือ ดินแดนลอเรเซียทางเหนือ และดินแดนกอนด์นาวาทางใต้ มีหลักฐานว่าไดโนเสาร์ยังคงข้ามไปมาระหว่างสองทวีปนี้ได้ อากาศในยุคนี้ส่วนใหญ่อบอุ่น ลมจากทะเลสามารถแผ่เข้าไปในความชุ่มชื้นในกลางทวีปได้มากขึ้น เพราะภูเขาที่เคยขวางกั้นนั้นสึกกร่อนพังทลายลงไปมาก

   มีไดโนเสาร์ตัวขนาดใหญ่ได้ปรากฎตัวขึ้น เป็นยุคที่โลกยังร้อนชื้นอยู่ พืชพวกปรง จิงกล้า หญ้า และต้นไม้ขนาดใหญ่ เป็นเหตุให้ไดโนเสาร์กินพืชเจริญขึ้นมากมาย พวกกินเนื้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน


 


***Note ***: ในยุคนี้เริ่มมีนกปราฎเป็นครั้งแรก เป็น อาร์คีออฟเทอริกซ์ เชื่อกันว่ามีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานในยุคจูราสสิก

Credit :

1.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%81

2.http://www.patchra.net/minerals/fossil/mesozoic.php





3. ยุคครีเทเซียส ( The Cretaceous Period )



ยุคครีเทเซียส  ( The Cretaceous Period )

   
      ชื่อยุคมาจากคำละติน ครีทา (Creta) แปลว่า หินชอล์ก ซึ่งเป็นหินที่พบมากในช่วงปลายยุค มีช่วงยาว 78 ล้านปี (จาก 144 ถึง 66 ล้านปีมาแล้ว) 
     หินชอล์คส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) ได้จากเศษชิ้นของพืชขนาดเล็ก (พวกสาหร่าย) ที่เรียกว่า คอคโคลิธ ปะปนอยู่กับเศษเปลือกหอยและฟอแรมมินิเฟอรา เช่น โกลบิเจอรินา (Globigerina) เป็นต้น ชีวิตบนผืนแผ่นดิน ตอนต้นยุคพืชยังคงคล้ายคลึงกับพวกที่พบในยุคจูแรสสิก คือมีพวก ปรง สน และเฟิร์น เป็นต้น กลางยุคเริ่มมีพืชดอก (แองกิโอสเปิร์ม) และในช่วงปลายยุคมีพืชกลุ่มปัจจุบันปกคลุมอยู่ทั่วไป พวกสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไดโนเสาร์ยังคงมีความสำคัญอยู่ แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยังมีจำนวนน้อย


ซิลิเซียส
เปลือกซากดึกดำบรรพ์แอมโมไนต์



ไบรโอซัว
      ชีวิตในท้องทะเลในยุคครีเทเซียส มีมากมายหลายจำพวก ฟองน้ำพบทั่วไปในบริเวณน้ำตื้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อปูน ส่วนพวกซิลิเซียสอยู่ในน้ำลึกกว่า ไบรโอซัวพบมากเป็นบางแห่งในเขตน้ำตื้นเหมือนกัน หอยตะเกียงพบมากพอสมควรส่วนใหญ่ยังคงเป็นพวกและ ริงโคเนลลิด หอยสองฝายังคงพบมากอยู่ 




กุ้ง อยู่ในพวกอาร์โทรพอด
    ส่วนแอมโมไนท์บน้อยลงและสูญพันธุ์ใปในปลายยุค เบเล็มไนท์ก็พบน้อยลงเช่นกัน และสูญหายไปเกือบหมดเมื่อสิ้นยุคนี้อาร์โทรพอดมีพวกกุ้งซึ่งพบอยู่ทั่วไป มีพวกเอไคนอยด์ ไครนอยด์และปลาดาวอยู่มาก แต่ปะการังมีความสำคัญน้อยลง พวกสัตว์เซลเดียว มีฟอแรมมินิเฟอราและราดิโอลาเรียอยู่แพร่หลาย ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลัง พบปลาจำพวกฉลามและกระเบนที่คล้ายคลึงกับชนิดปัจจุบัน อยู่ทั่วไป           





Credit

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AA